วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (เคมีพื้นฐานม.ปลาย)

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (เคมีพื้นฐาน ม.ปลาย)
Science Curriculum Framwork : Chemistry

เคมีคืออะไร แล้วทำไมต้องเรียนเคมี

เคมีเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพ ที่กล่าวถึงส่วนประกอบและสมบัติของสาร การเปลี่ยนแปลง
ของสาร (เรียกว่าปฏิกิริยาเคมี) เรียนเพื่อให้รู้จักสสาร (หรือธรรมชาติ) โดยเคมีมีบทบาทร่วมกันกับวิทยาศาสตร์
แขนงอื่น ๆ ด้วย

เคมีชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนอย่างไร
ในส่วนของเคมีมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2551 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)กำหนดวิชาเคมี เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งเป็นวิชาพื้นฐานและวิชาเพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของวิชาพื้นฐาน เปิดสอนนักเรียนทุกคนต้องเรียน ส่วนวิชาเพิ่มเติม เปิดสอนนักเรียนที่เรียนเน้นสายวิทยาศาสตร์

แนวทางการจัดการเรียนรู้ เคมีพื้นฐาน ม.ปลาย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นพัฒนาคน ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ เป็นสังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ (scientific literacy for all) เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม
วิทยาศาสตร์เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียงลำดับความยากง่ายของเนื้อหาสาระในแต่ละระดับชั้น การเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนพัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ รวมถึงมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและการจัดการ โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในวิชาเคมีพื้นฐานได้กำหนดกรอบรูปแบบหลักสูตรแนวทาง คือ
1. การจัดหน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โครงสร้างของสาร
ตอนที่ 1 โครงสร้างอะตอม
ตอนที่ 2 ตารางธาตุ
ตอนที่ 3 พันธะเคมี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปิโตรเลียม
ตอนที่ 1 ปิโตรเลียมและน้ำมันดิบ
ตอนที่ 2 แก๊สธรรมชาติ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พอลิเมอร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล
2. วิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้กับสาระ มาตรฐานการ 3.1 และ 3.2
และตัวชี้วัดทุกข้อ
เคมีพื้นฐานมีมาตรฐานการเรียน คือ
มาตรฐาน ว. 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด คือ
มาตรฐาน ว. 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด( เนื้อหา)
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายโครงสร้างอะตอมและสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ
2. วิเคราะห์และอธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุและการเกิดปฏิกิริยา
3. อธิบายการจัดเรียงธาตุและทำนายแนวโน้มสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
4. วิเคราะห์และอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโครงผลึกและในโมเลกุลของสาร
5. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะของสารกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
6. ทดลองอธิบายและเขียนสมการของปฏิกิริยาเคมีทั่วไปที่พบในชีวิตประจำวันรวมทั้งอธิบายผลของสารเคมีที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
7. ทดลองและอธิบายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
8. สืบค้นข้อมูลและอธิบายการเกิดปิโตรเลียม กระบวนการแยกแก๊สธรรมชาติและการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ
9. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกแก๊สธรรมชาติและการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
10. ทดลองและอธิบายการเกิดพอลิเมอร์สมบัติของพอลิเมอร์
11. อภิปรายการนำพอลิเมอร์ไปใช้ประโยชน์รวมทั้งผลที่เกิดจากการผลิตและใช้พอลิเมอร์ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
12. ทดลองและอธิบายองค์ประกอบ ประโยชน์ และปฏิกิริยาบางชนิดของคาร์โบไฮเดรต
13. ทดลองและอธิบายองค์ประกอบ ประโยชน์ และปฏิกิริยาบางชนิดของไขมันและน้ำมัน
14. ทดลองและอธิบายองค์ประกอบ ประโยชน์ และปฏิกิริยาบางชนิดของโปรตีนและกรดนิวคลีอิก

3. การแบ่งโครงสร้างเวลารายชั่วโมงในการจัดการเรียนรู้
สำหรับชั่วโมงในการจัดการเรียนรู้นั้น แบ่งตามชั่วโมงการเรียนรู้ ตามเนื้อหาที่สอน โดยในหลักฐานกำหนดให้เรียน 40 ชั่วโมงต่อหนึ่งภาคเรียน ( 2 คาบต่อสัปดาห์ )

4. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
4.1 แนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างละเอียด ตามเนื้อหาของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1 ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้
2 สาระสำคัญ เป็นความคิดรวบยอดของเนื้อหานำมาใช้จัดการเรียนรู้
3 ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ตรวจสอบนักเรียนหลังจากเรียนจบเนื้อหา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
4 จุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นส่วนที่บอกจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนภายหลังจากการเรียนจบในแต่ละแผน ทั้งในด้านความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (A) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ว่าหลังจากจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว นักเรียนมีพัฒนาการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้หรือไม่ และมีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงส่งเสริมในด้านใดบ้าง
6 สาระการเรียนรู้ เป็นหัวข้อย่อยมาจัดการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลาง
7 แนวทางบูรณาการ เป็นการเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และสร้างองค์ความรู้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
8 กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นการเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละเรื่อง เน้นการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ที่หลากหลายตามความสามารถ ความถนัดของนักเรียน
9 กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ เป็นกิจกรรมเสนอแนะ สำหรับนักเรียนได้พัฒนาเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ มี 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมสำหรับผู้ ที่มีความสามารถพิเศษและต้องการศึกษาค้นคว้าในเนื้อหานั้น ๆ ให้ลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งขึ้น และกิจกรรมสำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาหรือยังไม่เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นการเรียนซ้ำหรือซ่อมเสริม
10 สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่อบุคคล เช่น รูปภาพ หนังสือ วีดิทัศน์ เอกสารความรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
11 บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนที่ให้บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง ได้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอย่างไร และข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป
4.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
วิธีการหรือเทคนิคที่นำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีอยู่มากมายหลายวิธี การประสิทธิผลในการสร้างความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และให้โอกาสนักเรียนแตกต่างกันออกไป ดังนั้นในการเลือกวิธีการใดมาใช้ ต้องวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ก่อนว่าต้องการให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมใด ในระดับใด จึงปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียน เช่น การใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) การทดลอง(Experiment)/การฝึกปฏิบัติการ (Practice) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) กระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Process) เป็นต้น
4.3 เครื่องมือที่ใช้วัด KPA
K ทักษะความรู้ ) เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินตามสภาพจริงทางด้านความรู้ (ตัวชี้วัดหรือเนื้อหา) ที่ประกอบด้วยรายการที่ใช้ประเมินหรือเกณฑ์ในการพิจารณาและคำอธิบายระดับคุณภาพ
P ทักษะกระบวนการ เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตรประมาณค่า โดยใช้วิธีการสังเกต สอบถาม หรือสัมภาษณ์ ซึ่งครูสามารถนำไปใช้ประเมินทักษะ/กระบวนการของนักเรียนได้
Aทักษะคุณธรรม จริยธรรม เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตรประมาณค่า โดยใช้วิธีการสังเกต สอบถาม หรือสัมภาษณ์ ซึ่งครูสามารถนำไปใช้ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
5.1 เสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การเขียน การอ่าน การแสดงความคิดเห็น
5.2 การวัดและประเมินผล KPA
K เช่น แบบทดสอบปรนัย แบบทดสอบอัตนัย
P เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 กระบวนการ ทักษะการคิด การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ปัญหา
A เช่น เจตคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์

6. การทำวิจัยในชั้นเรียน
เนื่องจากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มักเกิดปัญหา เช่น นักเรียนมีความไม่เข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ ควรศึกษาธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ ความยากง่ายของเนื้อหาสาระ ความรู้ความสามารถนักเรียน สภาพความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อที่จะได้นำวิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสามารถใช้หลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และที่สำคัญควรประเมินผลการจัดการเรียนรู้และบันทึกข้อมูลไว้เพื่อนำไปปรับปรุง และพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้หรือทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไป

7. สมรรถภาพหลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
กล่าวถึงผลที่เกิดขึ้น หลังสำเร็จการศึกษามี 5 ประการ คือ
7.1 ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถของนักเรียนในการถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
7.2 ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถของนักเรียนในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดเชิงคุณธรรม และการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
7.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
7.4 ความสามารถในการใช้ทักษะ/กระบวนการและทักษะในการดำเนินชีวิต เป็นความสามารถของนักเรียนในด้านการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การสืบเสาะหาความรู้ และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค
7.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถของนักเรียนในการเลือกใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ แนวคิด และวิธีการในการพัฒนาตนเองและสังคมด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหา และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม
นอกจากสมรรถนะสำคัญของนักเรียนหลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่กล่าวแล้วข้างต้น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนหลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรไว้ 8 ประการ ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่าง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Texas science curiculum

หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ของรัฐเทกซัส แบ่งเป้นเขตพื้นที่การศึกษา โดบมีระบบทั้งความรู้ ทักษะ ในทางในการจัดการเรียนการสอน มีความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของรัฐ (ศูนย์ส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์) และมีรางวัลที่มอบให้จากท่านประธานาธิปดีด้วย


โดยได้สรุปหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในรัฐเทกซัส ดังนี้


1. แนวทางการค้นคว้าและออกแบบของรัฐ ไม่ว่าจะเรียนสาขาใดก็ตามของวิทยาศาสตร์ ต้องมี Lab 40 % ของการเรียนทั้งหมด โดยต้องคำนึงถึง


- ต้องมีความปลอดภัย


- ต้องไม่นำสารที่ใช้ในการทดลองไปทำลายสิ่งแวดล้อม


- ประหยัด


- การเก้บข้อมูลต้องถูกต้อง หาค่าได้ พิสูจน์ได้


- รู้ในสิ่งที่ต้องการจะศึกษาอย่างแท้จริง


2. ห้องปฏิกบัติการการทดลอง (ห้อง Lab)


- รัฐไม่กำหนดชั้วโมงสอนว่าใช้เท่าไร (อนุบาล-ม.3)โรงเรียนกำหนดเองตามความเหมาะสม


- โรงเรียนไม่สามารถเก็บเงินค่าห้อง Lab ได้ มีแต่เขตพื้นที่การศึกษาเท่านั้น จึงมีสิทธิ


- การสาธิตการทดลองหรือการค้นคว้า ถือว่าสามารถรวมเป็น 40 % ของ Lab ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของโรงเรียนว่าเหมาะสมหรือไม่


- จำนวนนักเรียนต่อห้อง โรงเรียนกำหนดเอาเอง โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมาอับดับหนึ่ง


- ขนาดของห้อง Lab ไม่ต่ำกว่า 900 ตารางฟุตต่อหนึ่งชั้นเรียน


- ห้องบรรยายและฟ้อง Lab อยู่ในห้องเดียวกันได้


3. การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้เครื่องมือในการวัด โดยเน้นความแม่นยำ หาค่าได้โดยการทดลองซ้ำหลาย ๆ ครั้ง


4. วิธีการสอนและทักษะที่ควรมีจะเน้นให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ แล้วตั้งคำถามมายังครูผู้สอน


โดยนักเรียนต้องรู้ถึง ความปลอดภัย ประสบการณ์การทำ Lab กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการคิดอย่างมีเหตุผล


5. เนื้อหาการจัดการเรียนการสอน อนุบาล - ม.6


อนุบาล สามารถอธิบายสิ่งรอบตัวตามที่มองเห็นได้


ป.1 สามารถพิจารณาสิ่งรอบตัวและให้ตัวอย่าง / ชื่อใหม่ได้


ป.2 สามารถเรียงลำดับสิ่งของ สิ่งมีชีวิต และตอบคำถามว่ามีความสัมพันธืกันอย่างไร


ป.3 เรียงคำศัพท์จาก ป.2 วัดค่าข้อมูล เรียกชื่อได้


ป.4 อธิบายระบบที่ซับซ้อนขึ้น คำศัพท์ที่ยากขึ้น เช่น การเรียนลำดับวิวัฒนาการมาอย่างไร


ป.5- 6 คำศัพ์ใหม่มากขึ้น


ม. 1- 3 เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไป เช่น โลก นำ แรงโน้มถ่วง


ม. 4- 6 เน้นการเข้าห้องปฏิบัติการ (ห้อง Lab) การใช้เหตุผลในแนวทางที่ถูกต้อง โดยที่วิชา ฟิสิกส์และเคมีรวมกัน














วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้และการวางแผนการสอน

ต้องมีความสอดคล้องดังนี้


ทัศนะคติต่อการประเมินมาตรฐานครูวิทยาศาสตร์

1. ครูต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เฉพาะด้านตามแต่ละสาขา
2. ครูต้องนำคุณธรรมจริยธรรมมาแทรกในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3. ครูต้องมีความธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ เช่น มีทักษะด้านการสังเกต การวิเคราะห์ การแปลผลข้อมูล
4. ครูต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ การวเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรท้องถิ่น รู้สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด
5. ครูต้องจัดการเรียนรู้ภายในห้องเรียนตามแผนการเรียนรู้ มีสื่อ เทคนิคการเรียนต่าง ๆ
6. เทคนิคการเรียนรู้ การนำแผนการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น กระบวนการคอนสตักติวิซึม กระบวรการกลุ่ม การร่วมกันคิด 4 map หรือ 5 E เป็นต้น
7. การประเมินผลนักเรียน ควรประเมินอย่างหลากหลายตามสภาพจริงของนักเรียน เช่น ตามความถนัด ความสนใจ และตามศักยภาพ
8. มีการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด ชุมชน เป็นต้น
9 มีการประเมิน ปรับปรุง ปัญหาแก้ไข โดยทำเป็นวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป